อากาศดีๆ...ที่วัดพลับ














     ทำไมอากาศดีๆ...ต้องคิดถึงวัดพลับ
     สภาพอากาศของประเทศไทยในทุกวันนี้ ภาพที่ทุกคนคิดตรงกันก็คงจะเป็นแต่ ภาพประเทศไทยที่ร้อนอบอ้าว ออกไปทางไหนก็เจอแต่อากาศที่ร้อนระอุ ยิ่งคนยุคใหม่ที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองหลวงภาพเหล่านี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ชินตา เมื่อร้อนมาก ตัวก็ร้อน ใจก็ร้อน ชีวิตไม่มีความสุข ทางออกของคนส่วนใหญ่ที่จะหนีร้อนไปพึ่งเย็นเลยกลายเป็นการออกไปต่างจังหวัด

หากพูดถึงสถานที่สักที่หนึงที่มีอากาศที่บริสุทธิ์ มีต้นไม้ มีทุ่งนา ก็จะทำให้นึกถึงภาพของต่างจังหวัดที่ต้องใช้เวลาเดินทางไกลๆ ต้องใช้ระยะเวลาเดินทางไปเป็นระยะเวลาหลายๆชั่วโมง หากจะมีสถานที่สักแห่งที่ทำให้เราได้สัมผัสกับอากาศดีๆและอยุ่ไม่ไกลจากกรุงเทพก็คงจะดีไม่น้อย



ที่หมู่ 5 วัดพลับ ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก  จ.ปทุมธานี อาจเป็นชื่อที่ใครหลายคนยังไม่รู้จัก แต่รู้หรือไม่ว่าที่นี่…ได้รวมทุกความต้องการไว้ที่นี่แล้ว

เพราะที่นี่ คือ ชุมชนคนทำนา มีแหล่งนาที่มีข้าวพันธุ์ดี ผืนนาสีเขียวขจีที่มองไปไกลสุดลูกหูลูกตาคงจะเป็นภาพที่ทำให้ช่วยในการพักผ่อนสายตาที่ดี มีแม่น้ำไหลผ่านที่จะช่วยสร้างความสดชื่นให้กับจิตใจได้ มีต้นไม้น้อยใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ มีอากาศที่บริสุทธ์เพราะได้รับการสังเคราะห์แสงมาจากต้นไม้ที่มีอยุ่ทั่วชุมชน นอกจากความสวยงามของธรรมชาติแล้ว ชุมชนแห่งนี้ยังมีอารยธรรมที่ดีงามรักษาไว้ นั่นคือ อารยธรรมไทยมอญ ซึ่งเป็นเสน่ห์….ที่รอให้ทุกคนมาค้นหา ดังนั้น หากจะต้องการสัมผัสกับอากาศดีๆบรรยากาศดีๆผู้คนดีๆจึงขอแนะนำชุมชนแห่งนี้เพราะอากาศดีๆ..ต้องที่วัดพลับ






ข้อมูล…วัดพลับ






ที่ตั้ง 

หมู่5 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีเป็นหมู่บ้านไทย-มอญที่งยังคงรักษาเอกลักษณ์ อารยธรรมและภูมิปํญญา  ไว้ได้อย่างดีงาม


อาณาเขต
ทิศเหนืออยู่   ติดบ้านเมตารางค์
ทิศตะวันตก  ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศใต้        ติดบ้านศาลาแดงเหนือ
ทิศตะวันออก ติดถนน 347

จำนวนประชากร
246 ครัวเรือน  ชาย 437 คน  หญิง 463 คน  รวม 900 คน 

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีคลองธรรมชาติไหลผ่าน  ฝนตกตามฤดูกาลทำให้มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอแก่การเกษตรกรรม

สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม

ชุมชน โดยรวมมีลักษณะเป็นชุมชนเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ชาวบ้านมีอาชีพทำนาเพราะมีพื้นที่การเกษตรมากมีศูนย์ข้าวพันธุ์ดี ดังนั้น ในอนาคตจึงอยากตั้งเป็นชมรม “คนทำนา” นอกจากนี้แล้ว ในด้านเศรษฐกิจชุมชน พบว่า มีกลุ่มอาชีพสตรีวัดพลับ กลุ่มทำขนมปังที่เรียกว่า “ส้มทองเบเกอรี่” มีการผลิตยาแผนโบราณที่ทำจากสมุนไพร เช่น ยาหอม ยาลม เป็นต้น

การคมนาคม/ขนส่ง
     ทางบก
(1) ถนนแอสฟัลติกสายวัดเสด็จ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (หมายเลข 3309)
(2) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของกรมทางหลวงหมายเลข 347 ตอนแยกบางพูน-ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-บางปะหัน
(3) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในตำบล ระยะทาง 4,775 เมตร
(4) ถนนลาดยางภายในตำบล ระยะทาง 3,950 เมตร
(5) ถนนลูกรังภายในตำบล ระยะทาง 7,880 เมตร
(6) ถนนดินภายในตำบล 3,000 เมตร
     ทางน้ำ
(1) แม่น้ำเจ้าพระยา
(2) คลองเชียงรากน้อย
(3) คลองเปรมประชากร
(4) คลองวัดพลับ
(5) คลองโคกตาเขียว
(6)คลองบางอ้าย-โพธิ์นิ่ม
(7) คลองบ้านวัง
(8) คลองแฟบ
(9) คลองข้าวไหม้ 

การจราจร
การ จราจรสะดวกทางบก มีการจราจรทางน้ำเพียงเล็กน้อยในส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนคลองต่าง ๆ ตื้นเขิน มีวัชพืชหนาแน่น ต้องกำจัดทุกปี ไม่มีการจราจรทางน้ำในคลอง

การใช้ที่ดิน
พื้นที่ ประกอบการเกษตรกรรมเดิมส่วนใหญ่ ได้เปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทุน และยังไม่ได้รับการพัฒนาทำประโยชน์ เกษตรกรจึงยังได้เช่าทำการเกษตรกรรม

การปศุสัตว์
     มีการประกอบปศุสัตว์ในท้องถิ่น เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด    

การประปา
ยังใช้น้ำบาดาลอยู่  ไม่มีน้ำประปาจำนวนครัวเรือน 50 หลังคาเรือน

ไฟฟ้า
ทุกหลังคาเรือนมีไฟฟ้าใช้


สถานศึกษา
มีโรงเรียน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดเมตารางค์ โรงเรียนศาลาพัน ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนชุมชนบ้านศาลาแดง

สถาบันองค์กรและศาสนา
 วัดพลับสุทธาวาส 

การสาธารณสุข
มีสถานีอามัยประจำตำบล 1 แห่ง คือ สถานีอนามัยตำบลเชียงรากน้อย


การพัฒนาอาชีพ
ได้มีการพัฒนาอาชีพและเสริมรายได้ของคนในครัวเรือน ได้แก่  กลุ่ม กลุ่มอาชีพสตรีวัดพลับ ส้มทองเบเกอรี่ กลุ่มหัตถกรรมไม้กวาดอ่อน กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า หมู่ที่ 5 กลุ่มอาชีพแปรรูปสมุนไพรวัดพลับ หมู่ที่






















  


วิถีที่วัดพลับ



คนไทยกับคนมอญอาศัยกันอยู่เหมือนพี่เหมือนน้อง คนไทยก็ไปได้กับคนมอญ ทำให้มีความใกล้ชิดสนิทกัน มีลูกมีหลาน พอถึงช่วงเทศกาลก็จะมีการแลกเปลี่ยน แบ่งปันกัน ข้าวสารอาหาร และมีการทำมาหากินร่วมกัน
คนมอญจะเดินเรือ  ทำอุตสาหกรรม ส่วนคนไทยทำนา การเกษตร  คนไทยบางส่วนก็ทำอุตสาหกรรม จึงทำให้คนไทยและคนมอญมีการอยู่ร่วมกันและอาศัยแลกเปลี่ยนช่วยเหลือการทำมาหากินซึ่งกันและกัน ในปีใหม่ไทย+มอญ จะนำเอาข้าวแช่ มาแบ่งปันกัน มีการไปมาหาสู๋ระหว่างคนในชุมชนเดียวกันอีกด้วย





รายได้หลัก :มาจากการทำเกษตร คือ ทำนา
รายได้เสริม : ปลูกผักขายและทำไร่สวนบ้างตามขนาดที่นาที่ตนมี
ชีวิตและความเป็นอยู่
    - ทำนา(นาปรัง) คนไทยส่วนใหญ่ทำนา ส่วนคนมอญมักไปทำงานนอกบ้านรับราชการหรือเดินเรือสินค้าเข้า-ออก
    - มีการทำน้ำยาชีวภาพจากผักเหลือใช้ น้ำยาหมักชีวภาพ สามารถนำมาทำปุ๋ย ไว้ใช้เองได้










ทำนา...ณ.วัดพลับ




      การทำนาเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับวิถีชิวิตกับชาววัดพลับมาช้านาน  เป็นอาชีพหลักที่ล่อเลี้ยงชาวบ้านแห่งนี้ มีแนวคิด ภูมิปัญญาต่างๆในการทำนาเกิดขึ้น เช่น การตีนา การทำขวัญข้าวเป็นต้น

ภูมิปัญญาการทำนา
     ภูมิปัญญาในการทำนาของหมู่บ้านวัดพลับ คือ การตีนา คือ การตีหน้าดินเวลาปลูกต้นข้าวให้ดินร่วนซุย

ขั้นตอนการทำนา


- วิดน้ำทำเทือก, เตรียมดินให้พร้อม
- แช่เมล็ดข้าวหนึ่งคืน พร้อมหว่าน
- เจาะร่อง หว่านข้าว
1คืน ฉีดยาคุมไม่ให้หญ้าแพรกขึ้น อีก10วันถึงฉีดยาฆ่าเชื้อ ไม่เกิน15วันปล่อยน้ำเข้านา
- ไม่เกิน20วัน ต่อมาใส่ปุ๋ย (ป้องกันเพลี้ย)
- ภายในเดือนนั้น ข้าวแกร่งต้านโรคได้ ปล่อยน้ำสูบเข้านารอบสองเพื่อให้ทำนาสะดวก
- 1เดือน20วัน เอาน้ำเข้า ใส่ปุ๋ยรอบสอง ใช้ปุ๋ยสูตร30.00/เทือก2  คือ16/20 สูตรต่ำสุด
- สอดส่องหาตัวแมลงเพื่อป้องกัน
- ข้าวเริ่มออกจึงฉีดฮอร์โมนให้ข้าวดีไม่มีแมลง ไร้สารพิษ
- ข้าวเริ่มก้ม ( ก้มคือ ปลายรวงข้าวโค้งงอ พร้อมเกี่ยว) 20วันจึงเกี่ยวได้


ยายลาน คนทำขวัญข้าวแห่งวัดพลับ


      การรับขวัญข้าว
ใช้ชะลอม ชะเหลว
ของสำหรับผู้หญิงแพ้ท้อง
แป้ง น้ำหอม กระจก หวี พลู หมาก กล้วยน้ำว้า
ผ้าถุงลายไทย เสื้อคอกระเช้า



วิธีรับขวัญข้าว
     ต้องทำการรับขวัญข้าวในวันศุกร์โดยตักข้าวมาเป็นขัน ข้าวเปลือกที่นวดเสร็จแล้ว เอาไปนวดจนเป็นข้าวยุ้งข้าวจุดธูปพนมมือ เรียกแม่ประสพ




การทำขวัญข้างให้แม่โพสพ ตอนตั้งท้อง
     ใช้ขนมถั่วงาอย่างละลูก ธงปักชะลอม ชะเหลวรับขวัญข้าว
กล้วยน้ำว้า 1 ลูก ของเปรี้ยวสำหรับคนท้อง โดยมีวิธีการปฏิบัตเช่นเดียวกับการรับขวัญข้าว  




วัดพลับสุทธาวาส



  วัดพลับสุทธาวาสสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.ใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด เพียงแต่ทราบว่าสร้างขึ้นในสมัยที่ชาวรามัญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในตำบลนี้ เมื่อประมาณ200ปีเศษ วัดนี้ตั้งอยู่ที่หมู่5 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอ สามโคก จังหวัด ปทุมธานี บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ที่ริเริ่มก่อสร้างคือ หลวงนราภัยพิทักษ์ อดีตนายอำเภอสมัยนั้นร่วมกับนายคง(ไม่ทราบนามสกุล)
    

  บริเวณที่สร้างวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 3งาน 78 ตารางวา นายเวน นางยอน แก้วเกลี้ยง เป็นผู้บริจาคที่ดินให้ มีกุฏิ 4 หลัง  ศาลาการเปรียญ 1 หลัง หอสวดมนต์ 1 หลัง ต่อมา พ.ศ.2466 ได้ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น โดยประชาชนร่วมมือกันบริจาคโดยมีการก่อสร้างแบบอิฐถือปูน 
    
  วัดพลับสุทธาวาสจึงเป็นแหล่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไทย ชาวมอญเชื้อสายพุทธ อีกทั้งยังเป็นสถานที่พบปะ พุดคุยของชาวชุมชนวัดพลับอีกด้วย





           หลวงพ่อเงิน : ในสมัยก่อนหลวงพ่อเงินถูกเอาปูนหุ้มไว้ เมื่อก่อนคนคิดว่าหลวงพ่อเงินมีอัตลักษณ์ที่ไม่สวยเลยเอาหลวงพ่อเงินไปไว้หลังโบสถ์แต่ขณะที่ทำการย้ายนั้น เชือกหามได้ไปบาดกับปูนทำให้ปูนกระเทาะและทำให้เห็นเนื้อที่แท้จริง ว่ามีสีเงินทั้งรูปจึงมีชื่อว่า หลวงพ่อเงินที่เรียกตั้งแต่นั้นมาจนปัจจุบัน และหลังจากนั้นก็ไดมีคนในหมู่บ้านนำหลวงพ่อเงินไว้ ประมาณ 20 ปี หลวงพ่อเงินคนมอญเป็นคนสร้าง ฉากที่หุ้มหลวงพ่อเงิน ทำด้วยไม้สัก สลักเป็นลายกนกไทย และมีกระจกแก้วหุ้ม




โบสถ์ : ใช้อิฐมอญก่อสร้างวัด
       เฟี้ยม: ประตูด้านหลังที่ทำด้วยไม้ เป็นบานประตูพับ






ธรรมมาส วัดพลับสุทธาวาส

ธรรมมาส: ทรงเรือก็จะมีหลังคาหุ้ม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5





เครื่องกรองน้ำสมัยโบราณ : เอาน้ำใส่ตรงแท่นด้านบนที่แท่งหินจะมีตุ้มรองรับน้ำขนาดเล็กรองรับน้ำ

วัฒนธรรมแห่งวัดพลับ



     ด้านประเพณีวัฒนธรรม พบว่า มีวัฒนธรรมมอญที่คล้ายคลึงกับหมู่ 2 และหมู่ 3 มีเรือโบราณ มีการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ เช่น มอญซ่อนผ้า หมากเก็บ  การเล่นสะบ้า นอกจากนี้ ยังมีการแต่งเพลงพื้นบ้านอีกด้วย
     ด้านศาสนา พบว่า ที่วัดพลับมีหลวงพ่อเงิน (เป็นเงินทั้งองค์) ที่เป็นที่สักการะขอพรจากชาวบ้าน
     ในอนาคตข้างหน้าต้องการรื้อฟื้นกลุ่มทำไม้กวาดอ่อนขึ้นมาอีกครั้ง เพราะไม้กวาดอ่อนที่ทางหมู่บ้านผลิตขึ้นมีคุณภาพดี รวมทั้งอยากตั้งชมรม คนเขียนเพลง ขึ้นอีกด้วย

















กิจกรรม...ณ.วัดพลับ

ภาพบรรยายกาศ การลงพื้นที่เก็บข้อมูล ครั้งที่ 1 หมู่ 5 ชุมชนวัดพลับ


ถนนภายในหมู่บ้าน

















นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิชา PR303 ทั้ง 3 Section ลงพื้นที่ชุมชน หมู่ 5 วัดพลับ ต.เชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี เพื่อเก็บข้อมูลในการทำโครงการ และพูดคุยกับ พี่รัตนา ผู้นำชุมชน หมู่ 5 วัดพลับ







เยี่ยมชมการทำไม้กวาด







อาชีพหลักของชุมชนนี้คือการทำนา

ของดี...ที่อยากโชว์



ไม้กวาดอ่อน ของดีที่อยากโชว์
    ไม้กวาดออกเป็นผลิตภัณฑ์แห่งความภาคภูมิใจของชาววัดพลับ เป็นไม้กวาดคุณภาพดี เกิดจากการรวมกลุ่มกันทำเกิดขึ้นของคนในหมู่5วัดพลับ  ในอนาคตข้างหน้าต้องการรื้อฟื้นกลุ่มทำไม้กวาดอ่อนขึ้นมาอีกครั้ง เพราะไม้กวาดอ่อนที่ทางหมู่บ้านผลิตขึ้นมีคุณภาพดี รวมทั้งอยากตั้งชมรม คนเขียนเพลง ขึ้นอีกด้วย

ห้องภาพ...วัดพลับ

วัดพลับไปทางโน้นนนนนนนนนนนนนนนนนนน!!!

เพิ่มคำอธิบายภาพ